4 เรื่อง ‘ยีนส์’ ที่คนใส่ยีนส์ไม่ควรทำ
บางคนสวม “ยีนส์” แล้วดูดีจัง แต่บางคนใส่ยีนส์แล้วชวนให้ตั้งข้อสงสัยไปต่างๆ นานา นักวิจารณ์แฟชั่นแนะเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใส่ยีนส์ให้เท่
นับตั้งแต่โลกผลิตผ้าเดนิม (denim) สำเร็จ กางเกงยีนส์ (jeans) ก็กลายเป็นเสื้อผ้าชิ้นเก่งของผู้ชายที่ต้องมีติดตู้เสื้อผ้า
กางเกงยีนส์พัฒนามาไกลมาก จากเสื้อผ้าชิ้นจำเป็นของคนงานในเหมืองเมื่อ 149 ปีก่อน สู่เสื้อผ้าแฟชั่นของคนในเมืองใหญ่ที่ทันสมัยไปด้วยเทคโนโลยี
เคยสังเกตไหม บางคนสวมยีนส์แล้วดูดีจัง แต่บางคนใส่ยีนส์แล้วชวนให้ตั้งข้อสงสัยไปต่างๆ นานา
นักวิจารณ์แฟชั่นก็เลยช่วยออกข้อสังเกตเบื้องต้นเกี่ยวกับการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้ายีนส์ไว้ให้ประมาณนี้
- เลี่ยงเนื้อผ้าแข็ง-หยาบ
คนทำงานที่ใส่ยีนส์ไปทำงานยุคนี้ ต้องการกางเกงยีนส์ที่คล่องตัวสำหรับขึ้นรถเมล์ เดินขึ้นบันไดรถไฟฟ้า บางคนขี่จักรยานไปทำงาน เลิกงานแล้วเดินชอปปิ้ง ฯลฯ ดังนั้นไม่ควรเลือกกางเกงยีนส์ที่ตัดเย็บด้วยเดนิมที่เนื้อผ้าแข็ง-หยาบเกินไป เพราะคนทำงานในเมืองไม่ต้องการเนื้อผ้าเดนิมที่สมบุกสมบันเหมือนทำงานในเหมือง
ยุคนี้ให้เลือกยีนส์ที่ผ้าเดนิมมีส่วนผสมของ สเปนเด็กซ์ ซึ่งทำให้เดนิมมีความยืดหยุ่น ไม่เพียงแต่สวมใส่สบายตลอดวัน เคลื่อนไหวสะดวก เนื้อผ้าที่รัดรูปนิดหน่อยยังให้ความเป็นแฟชั่นอีกด้วย
พอดีตัวสไตล์ LEVI’S : กางเกงยีนส์ 512 Slim Taper Fit Jeans – Genie ADV
Calvin Klein : Washed Taper Body Jeans ไม่รัดแน่นจนเกินไป
- อย่ารัดรูปเกินพอดี
หลีกเลี่ยงกางเกงยีนส์ที่เนื้อผ้ามีส่วนผสมของสเปนเด็กซ์มากเกินไป
คุณอาจเห็นแฟนสาวดูดีเหลือเกินเมื่อสวมใส่กางเกงยีนส์รัดรูปแทบจะเหมือนใส่เลกกิ้งแนบเนื้อ แต่ผู้ชายไม่ดูดีเหมือนผู้หญิง เนื่องจากโครงสร้างสรีระต่างกัน ยีนส์ที่รัดแน่นเกินไปจะทำให้ผู้ชายดูเป็นปล้องๆ เหมือน ‘แหนม’
ยีนส์ที่รัดแน่นเกินไปจะทำให้ผู้ชายดูเป็นปล้องๆ เหมือน ‘แหนม’
ถ้าถอดกางเกงยีนส์แล้วเห็นรอยตะเข็บบนผิว แปลว่ากางเกงตัวนั้นรัดแน่นเกินไป เลือก ยีนส์ทรง skinny หรือ slim ที่ใกล้เคียงกับรูปร่าง ที่เมื่อดึงเนื้อผ้าแล้วมีช่องว่างระหว่างผิวกับเนื้อผ้า
CPS Chaps : Denim-on-denim คนละโทนสี
Davie Jones : Denim-on-denim โทนสีเดียวกัน
Calvin Klein : Denim-on-denim เข้ม-อ่อนโทนสีเดียวกัน
Topman : Denim-on-denim เข้ม-อ่อนโทนสีเดียวกัน
- Denim-on-denim
การแต่งตัวแบบ Denim-on-denim หรือเสื้อชิ้นบนก็ยีนส์ ชิ้นล่างก็ยีนส์ซึ่งก็หมายถึงกางเกงยีนส์ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแต่งตัวที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ
ในวงการแฟชั่น การแต่งตัวแบบ Denim-on-denim มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Canadian tuxedo คนที่ทำให้เกิดชื่อเรียกนี้คือนักร้องเพลงแจ๊สและนักแสดงชาวอเมริกันมีชื่อเสียงตั้งแต่ปีค.ศ.1926 บิง ครอสบี (Bing Crosby) ถูกปฏิเสธให้เข้าพักในโรงแรมระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตไปยังเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ในปีค.ศ.1951 เนื่องจากเขาและเพื่อนแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเดนิมหรือยีนส์ทั้งชุด ไม่ว่าชาวแคนาดาจะชอบหรือไม่ แต่โลกแฟชั่นก็มอบคำว่า Canadian tuxedo ให้เป็นสัญลักษณ์ของการแต่งตัวแบบเดนิม-ออน-เดนิมไปตั้งแต่ปีนั้นแล้ว
การแต่งตัวแบบ ‘เดนิม-ออน-เดนิม’ แบบมือโปร คือเดนิมชิ้นบนกับเดนิมชิ้นล่างต้องไม่ใช่โทนสีเดียวกัน เช่น ชิ้นบนสีอ่อน-ชิ้นล่างสีเข้ม ชิ้นบนสีเข้ม-ชิ้นล่างสีอ่อน หรือใช้โทนสีต่างกันไปเลย เช่น สีดำกับสีเทา ถ้าต่างไปจากนี้ แปลว่าคุณต้องการแต่งตัวให้มีลุคแบบคาวบอย (cowboy)
CPS Chaps : distressed super skinny jeans
- distressed jeans
กางเกงยีนส์สไตล์ distressed jeans หรือยีนส์จากการสะกิดผ้าให้ขาดเป็นรูโหว่หรือแค่เพียงเห็นแถบเส้นด้ายเรียงกันเป็นเส้นๆ เป็นอีกหนึ่งสไตล์ที่มีความโดดเด่นและไม่ผิดอะไรที่จะมีติดตู้เสื้อผ้า…ตราบที่หยิบมาใส่ให้ถูกโอกาส นั่นก็คือ
- ใส่ไปทำงาน -ไม่เหมาะ
- ใส่วันหยุด -เหมาะอย่างยิ่ง แต่งให้ดูคลาสสิกโดยเลือก distressed jeans ทรงสลิมหรือไม่ก็ทรง tapered leg (ใส่สบายช่วงต้นขา แคบตั้งแต่หัวเข่าถึงข้อเท้า) จับคู่กับ Chelsea boot หรือรองเท้าหุ้มข้อหนังหรือหนังกลับ (suede) แบบไม่มีเชือกผูก แต่มีแถบยางยืด
ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี รอยขาดบนกางเกงยีนส์ก็เหมือนกัน รอยถากหรือรอยขาดเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณต้องการลุคแบบชาวฮิปปี้ยุค 80 ก็ต้องเน้นให้ขาดมากๆ ขาด-ถากหลายๆ ตำแหน่งเข้าว่า
ส่วนภาพที่นำเสนอนี้ เป็นวิธีการแมตช์ยีนส์เท่ๆ จากหลายแบรนด์เดนิมยอดนิยม
..ใส่แล้วพลาดยาก
Credit photo : www.cpschaps.com , www.central.co.th
เครดิต : www.bangkokbiznews.com