เปิดประวัติศาสตร์ยีนส์ ลีวายส์ 501 กว่า 124 ปี
เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวจากประวัติศาสตร์ยีนส์อเมริกันอันล้ำค่า Levi’s Vintage Clothing (LVC) และสินค้ารุ่นพรีเมี่ยม Levi’s Made and Crafted™ (LMC) ที่ออกแบบตัดเย็บด้วยกรรมวิธีพิเศษอย่างพิถีพิถัน มาให้คนไทยได้จับจองเป็นเจ้าของกันแล้วที่แรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ร้านลีวายส์ สาขาโครงการเซ็นทรัล เอ็มบาสซี กรุงเทพฯ
6tinvoyw
Levi’s Vintage Clothing (LVC)
ลีวายส์ คัดสรรกางเกงยีนส์ยอดฮิตสุดเก๋าจากช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 124 ปีของลีวายส์ 501 มาผลิตใหม่ด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมที่เคยทำเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วในแบบย้อนยุคให้เหมือนเก่าทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งเนื้อผ้า รูปทรง ตลอดจนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ด้วยคุณภาพการผลิตและเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ โดยลีวายส์ เลือกหยิบกางเกงยีนส์ 501 ในตำนานที่ผลิตในช่วงยุคสมัยคริสตศักราชต่างๆ มาผลิตใหม่ทั้งสิ้น 10 รุ่นคริสตศักราช
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1890 เป็นปีแรกที่ลีวายส์ใช้ตัวเลข “501” เป็นรหัสรุ่นของกางเกงยีนส์ โดยในยุคนั้นตัวเลข “5” จะถูกใช้เป็นรหัสนำหน้าของสินค้าลีวายส์ ที่ผลิตจากวัสดุที่ดีที่สุด
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1922 เพิ่มรูร้อยเข็มขัดตรงขอบกางเกงยีนส์ครั้งแรก แต่ยังคงมีกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) และสายปรับกระชับ (Back buckle belt)
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1933 เป็นรุ่นสุดท้ายที่มีสายปรับประชับ (back buckle belt) และกระดุมสำหรับใส่สายเอี๊ยม (suspender) จุดสำคัญที่สุดของรุ่นนี้ คือ ป้ายสีขาวเล็กๆ พิมพ์รูปนกอินทรีสีฟ้าและตัวอักษร “NRA” (National Recovery Act) ที่อยู่บริเวณป้ายหนัง นอกจากนี้ป้าย Guarantee Ticket ได้ถูกเปลี่ยนจากคำว่า ‘This is a pair of them’ เป็น ‘This is a pair of Levi’s ทรงกระบอกใหญ่ ขาตรง
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1937 มีการเย็บป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) เข้ากับกระเป๋าหลังด้านขวาของกางเกงเป็นครั้งแรกเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดดเด่นให้แบรนด์ลีวายส์® และซ่อนหมุดย้ำโลหะในการเย็บกระเป๋าหลังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนเวลานั่ง
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1944 (World War II) ในสถานการณ์ขาดแคลนในสภาวะสงคราม ลีวายส์® ต้องตัดการตกแต่งที่ไม่จำเป็นออกเพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยได้ตัดหมุดย้ำโลหะตรงเป้าด้านหน้าและสายปรับกระชับ (back buckle belt) ออก เส้นโค้งปีกนกบนกระเป๋าหลังถูกใช้วิธีการเพ้นท์สีแทนการเย็บด้วยเส้นด้าย กระดุมหน้าแบบโดนัท และกระดุมด้านบนเป็นรูปช่อมะกอก
u63r29lr
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1947 เป็นแม่แบบของกางเกงยีนส์ 501® ในปัจจุบัน ด้วยการตัดเย็บที่มีรูปทรงแบบสลิมเข้ารูปยิ่งขึ้น ใช้การเดินเส้นด้ายตรงกระเป๋าหลังแบบโค้งปีกนกด้วยจักรเป็นเส้นคู่ และเป็นช่วงที่คนยุคใหม่เริ่มหันมาใส่ยีนส์
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1954 เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวที่ใช้ซิปที่เป้ากางเกง และป้ายหนังมีการพิมพ์รหัส “501Z”
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1955 เริ่มใช้ป้ายปะเก็นกระดาษแบบยุคปัจจุบันครั้งแรก โดยเป็นช่วงที่มีการใช้คำว่า Jeans แทนคำว่า Overall
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1966 เริ่มใช้ Bar Tack แทนการตอกหมุดโลหะบนกระเป๋าหลังด้วยตะขอยึด เนื่องจากเมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน หมุดโลหะมักจะทะลุเนื้อผ้ายีนส์ออกมา และนี่เป็นช่วงปลายของการใช้ Big E บนป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) ส่วนกระเป๋าหลังโค้งคู่ปีกนกมีความโค้งน้อยกว่าปกติ
กางเกงยีนส์ 501 รุ่นปี 1978 มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโลโก้สัญลักษณ์ลีวายส์ บนป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) จาก LEVI’S เป็น Levi’s ทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ใหม่ของความเป็น ‘Big E’ และ ‘Little e’
b03i0kbz
พิเศษกับคอลเลคชั่น LVC ออเร้นแท็ป (Orange Tab) รุ่นปี 1960 ที่ผลิตขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ เป็นการใช้ป้ายออเร้นแท็ป (Orange Tab) บ่งบอกสัญลักษณ์ลีวายส์ แทนการใช้ป้ายเร้ดแท็ป (Red Tab) สำหรับไอเท็มต่างๆ ทั้งกางเกงยีนส์เข้ารูป เสื้อสวมหัว เสื้อยืด เสื้อเชิ้ตเดนิม และเสื้อแจ็คเก็ตเดนิม ด้วยดีไซน์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ถือเป็นการปฏิวัติยีนส์คลาสสิคอเมริกันสู่ยุคเจเนเรชั่นใหม่ ทุกวันนี้ ออเร้นแท็ป (Orange Tab) ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งยุคเสรีอันแสนจะเรียบง่าย
เพื่อต้อนรับลีวายส์ รุ่น LVC และ LMC สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย ลีวายส์ นำไอเท็มระดับตำนานมาให้ทุกคนได้สัมผัส คือ เสื้อทักซิโด้ในตำนาน ‘Crosby Tuxedo’ อันมีประวัติยาวนานที่ได้ปฏิวัติการสวมใส่ยีนส์ในปี 1951 จากเรื่องราวของ บิง ครอสบี้ (Bing Crosby) ศิลปินผู้โด่งดังของอเมริกา ที่ไม่สามารถใส่ยีนส์เข้าโรงแรมได้ จนในที่สุดลีวายส์ ได้พัฒนารูปแบบทำให้เขาสามารถสวมใส่ยีนส์ตัวเก่งก้าวเข้าสู่โรงแรมได้อย่างภาคภูมิและนั่นคือตำนานความเป็นมาของเสื้อทักซิโด้ ‘Crosby Tuxedo’ นั่นเอง